มาทำความรู้จักกับสายสัญญาณกันเถอะ Part 2 (Fiber Optic)

Fiber Optic

สมัยก่อนสายสัญญาณที่ใช้กับระบบเครือข่ายมักจะมีปัญหาของสายที่มีตัวนำเป็นโลหะ โดยปัญหานั้นก็คือสัญญาณที่วิ่งอยู่ภายในสายอาจจะถูกรบกวนได้โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องใช้ฟ้าต่างๆ ที่ผลิตสนามแม่เหล็ก หรือแม้กระทั่งกับปรากฎการณ์ธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ฝนตกแล้วอินเทอร์เน็ตหลุด ซึ่งปัญหานี้ส่งผลกระทบจำนวนมาก และสายสัญญาณที่มาแทนสายที่เป็นตัวนำโลหะ ก็คือ สาย Fiber Optic หรือ สายใยแก้วนำแสง

Fiber Optic เป็นสายนำสัญญาณข้อมูลชนิดหนึ่งที่สามารถเดินสายได้ไกลหลายกิโลเมตรและรองรับความเร็วสูง (Bandwidth สูง) โดยมีค่าสูญเสียของสัญญาณที่ต่ำมาก (ค่า loss) โครงสร้างมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เมื่อเทียบกับสายนำสัญญาณแบบอื่นๆ ทำให้ในปัจจุบันสายไฟเบอร์ออปติก นั้นมีความนิยมอย่างมากในงานเดินระบบใหญ่ๆ หรืองานระบบที่ต้องการความเสถียรภาพสูง (การคำนวณค่า loss)

โครงสร้างพื้นฐานสาย Fiber Optic
Fiber Optic
  • Cable Jacket/Sheath: ส่วนที่อยู่ด้านนอกสุดทำหน้าที่ป้องกันส่วนต่างๆ ที่อยู่ภายในสายใยแก้วนำแสง
  • Strengthening Fibres: เส้นใยเสริมการป้องกัน
  • Coating/Buffer: เป็นชั้นที่อยู่รอบนอก ห่อหุ้ม ชั้น Cladding “Coating” เป็นส่วนประกอบหนึ่ง หรือ อาจจะมีหลายชั้นของโพลิเมอร์ ที่คอยปกป้องโครงสร้างซิลิกา ไม่ให้เกิดความเสียหายทางกายภาพหรือ จากสิ่งแวดล้อม
  • Cladding: เป็นส่วนที่ถัดจาก Core ทำหน้าที่เป็นตัวหักเหของแสง เปลือกหุ้ม
  • Core: เป็นส่วนที่อยู่ชั้นในสุดทำหน้าที่ให้แสงเดินทางผ่าน
Fiber Optic มีกี่ประเภท

มี 2 ประเภท คือ Single-Mode และ Multi-ModeSingle-Mode หมายความว่าสายแบบนี้จะอนุญาตให้แสงเดินทางเพียงแนวเดียว ดังนั้น Multi-Mode จึงหมายความว่าสายใยแก้วที่อนุญาตให้แสงเดินทางผ่านหลายแนว

ความยาวคลื่นและแหล่งกำเนิดแสง

เนื่องจากเส้นใย Multi-Mode มีขนาดใหญ่ แหล่งกำเนิดแสงเช่น LED (ไดโอดเปล่งแสง) และ VCSEL (เลเซอร์เปล่งแสงพื้นผิวโพรงในแนวตั้ง) ที่ทำงานที่ความยาวคลื่น 850 nm และ 1300 nm จึงถูกนำมาใช้ในสายMulti-Mode Fiber Optic ในขณะที่เส้นใย Single-Mode มักใช้เลเซอร์หรือเลเซอร์ไดโอดเพื่อผลิตแสงที่ส่องเข้าไปในสายเคเบิล และความยาวคลื่น Single-Mode Fiber Optic ที่ใช้กันทั่วไปคือ 1310 nm และ 1550 nm

สายไฟเบอร์ออฟติกแบบซิงเกิลโหมด (Single-Mode Fiber Optic: SMF) มีเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใยแก้วนำแสง (Core) อยู่ที่ 8-10 μm และมีเส้นผ่าศูนย์กลางของเปลือกหุ้มอยู่ที่(Cladding) 125 μm สามารถส่งสัญญาณด้วยความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 2500 Mbps ในระยะทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร โดยการใช้งานจริงจะสามารถส่งข้อมูลได้ไกล 100 กิโลเมตร โดยความเร็วไม่ต่ำกว่า 1000 Mbps ซึ่งไม่ว่าจะเป็นความเร็วอินเทอร์เน็ต 10Mbps, 100Mbps หรือ 1000Mbps (1Gbps) หากใช้สายไฟเบอร์ออปติกชนิด Single-Mode จะสามารถส่งสัญญาณได้ไม่จำกัดและความเร็วไม่ลดลง

มีรูปแบบการแพร่กระจายของแสง ชนิด Step Index (Single-Mode)  ส่วน Core และ Cladding มีดัชนีการหักเหที่ต่างกัน ไฟเบอร์ชนิด Single-Mode มีขนาดของ Core เล็กมาก ( 10 GHz·km) จึงไม่เกิดการกว้างขึ้นของพัลส์ (Pulse broadening) และไม่เกิด Transit Time Differences

Light Ray

ชนิดของสาย Single-Mode Fiber Optic มี 2 แบบ คือ OS1 และ OS2 ซึ่งทั้งสองแบบนี้จะมีความแตกต่างกันโดยเปรียบเทียบค่า Attenuation  โดยอ้างอิงกับ มาตรฐาน ISO/IEC และมาตรฐาน EN

OS1 และ OS2 เป็นสายSingle-Mode Fiber Optic  ซึ่งใช้ความยาวคลื่น 1310 nm และ 1550 nm โดยมีการลดทอนสูงสุด 1 dB/km และ 0.5 dB/km

ความแตกต่างระหว่าง OS1 กับ OS2

การเลือกใช้ OS1 กับ OS2

หลังจากเปรียบเทียบสายไฟเบอร์ทั้งสองแล้ว สรุปได้ว่า OS2 เหมาะสมกว่าสำหรับการส่งผ่านทางไกลโดยให้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นโดยมีการสูญเสียน้อยลง ในความเป็นจริง OS1 เคยเป็นมาตรฐานเดียวสำหรับ Single-Mode Fiber Optic ที่มีความยาวสายสูงสุดสำหรับการเดินสายเคเบิลในวิทยาเขตประมาณ 10 Km ซึ่งไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้คนสำหรับความยาวสาย อีกต่อไป

สาย OS2 เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่ออีเทอร์เน็ต 1G/10G/40G/100G ตอบสนองความต้องการประสิทธิภาพสูงในระยะทางไกล 200 Km ด้วยเหตุนี้ ผู้ขายจำนวนมากขึ้นจึงมักจะนำเสนอโซลูชันด้วยสายเคเบิล OS2 SMF สำหรับแอปพลิเคชันเครือข่ายสมัยใหม่

สายไฟเบอร์ออฟติกแบบมัลติโหมด (Multi-Mode Fiber Optic: MMF) มีเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใยแก้วนำแสง(Core) อยู่ที่ 62.5 μm หรือ 50 μm และมีเส้นผ่านศูนย์กลางของเปลือกหุ้มอยู่ที่(Cladding) 125 μm ด้วยขนาดใยแก้วนำแสงที่เล็กทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ใกล้และมี Bandwidth ที่ต่ำกว่าสายไฟเบอร์ออปติกแบบ Single-Mode โดยมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 100 Mbps ในระยะทางไม่เกิน 200 เมตร แต่สายไฟเบอร์ออปติก แบบ Multi-Mode นั้นจะผลิตง่ายกว่าสายไฟเบอร์ออปติก แบบ Single-Mode

MMF
  • Step Index Fiber Optic (Multi-Mode) ขนาดที่ใช้งานกันจะเป็น 9/125 µm fibers ที่ความยาวคลื่น 1300 nm สำหรับ long distance
Source to LightRays

Graded Index Fiber Optic (Multi-Mode) ไฟเบอร์แบบ Graded Index Fiber ดัชนีการหักเหจะเปลี่ยนแปลงแบบค่อย ๆ เป็นจาก Core ไปยัง Cladding ไฟเบอร์ชนิดนี้จึงมี Transit Time Differences น้อย และการกว้างขึ้นของพัลส์ (Pulse Broadening) น้อย ทำให้มีค่าลดทอนต่ำ แบนด์วิดธ์ < 1 GHz·km ขนาดที่ใช้กันก็เป็น 50/125 µm หรือ 62.5/125 µm ใช้สำหรับระยะทางสั้น ๆ (< 500 m)

Source to Light Ray

ความแตกต่างของ Step Index (Multi-Mode)กับ Graded Index(Multi-Mode)

Mode Dispersion หรือ Modal Dispersion จะเกิดขึ้นเนื่องจากคุณลักษณะของแสงกล่าวคือความเร็วในการเดินทางของแสงแต่ละโหมดจะแตกต่างกัน ดังนั้นแสงจะเดินทางมาถึงปลายทางไม่พร้อมกัน ส่งผลให้เกิดการซ้อนทับกันของข้อมูล โดยเราสามารถแก้ไขได้โดยไม่ส่งพัลซ์ของข้อมูลที่ทีความแคบมากเกินไป ก็คือ การจำกัดความเร็วในการส่งนั้นเอง

ชนิดของสาย Multi-Mode Fiber Optic ปัจจุบันมีอยู่ 2 ขนาด และ 5 ประเภท โดยเปรียบเทียบค่าการลดทอนของสัญญาณโดยอ้างอิงกับมาตรฐาน ISO/IEC และมาตรฐาน EN

หมายเหตุ: รายการนี้รวบรวมจากหลายแหล่งที่มีวันที่ต่างกัน หากสงสัยว่ามีการเปลี่ยนแปลง แคตตาล็อกเต็มรูปแบบของข้อกำหนด TIA อยู่ที่ TIA Telecommunication Industry Association

ความแตกต่างระหว่าง Single-Mode กับ Multi-Mode

การใช้งาน Indoor /Outdoor

เราจำแนกความแตกต่างของเส้นใยแก้วนำแสงออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

Fiber Loose Tube vs Tight Buffer Cable
  • สายเคเบิลบัฟเฟอร์แบบแน่น (Tight Buffer) เป็นสายไฟเบอร์แบบเดินภายในอาคาร (Indoor) โดยมีการหุ้มฉนวนอีกชั้นหนึ่งให้มี ความหนา 900 µm เพื่อสะดวกในการใช้งานและป้องกันสายไฟเบอร์ในการติดตั้ง ปริมาณของ เส้นใยแก้วบรรจุอยู่ไม่มากนัก เช่น 4,6,8 Core ส่วนสายที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์จะมีขนาด 1 Core ซึ่งเรียกว่า Simplex ขนาด 2 Core เรียกว่า Zip Core
  • สายเคเบิลแบบหลวม (Loose Tube) เป็นสายไฟเบอร์ที่ออกแบบมาใช้เดินภายนอกอาคาร (Outdoor) โดยการนำสายไฟ เบอร์มาไว้ในแท่งพลาสติก และใส่เยลกันน้ำเข้าไป เพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสกับแรงต่างๆ อีกทั้งยังกันน้ำซึมเข้าภายในสาย ความหนา 250 µm สายแบบ Outdoor ยังแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้อีกดังนี้
    • Duct Cable เป็นสาย Fiber Optic แบบร้อยท่อ โครงสร้างของสายไม่มีส่วนใดเป็นตัวนำ ไฟฟ้า ซึ่งจะไม่มีปัญหาเรื่องฟ้าผ่า แต่จะมีความแข้งแรงทนทานน้อย ในการติดตั้งจึงควร ร้อยไปในท่อ Conduit หรือ HDPE (High-Density-Polyethylene)
    • Direct Burial เป็นสายไฟเบอร์ออปติกที่ออกแบบมาให้สามารถใช้ฝังดินได้โดยไม่ต้องร้อยท่อ โดยโครงสร้างของสายจะมีส่วนของ Steel Armored เกราะ ช่วยป้องกัน และเพิ่ม ความแข็งแรงให้สาย
    • Figure - 8 เป็นสายไฟเบอร์ที่ใช้แขวนโยงระหว่างเสา โดยมีส่วนที่เป็นลวดสลิงทำหน้าที่รับ แรงดึงและประคองสาย จึงทำให้สายมีรูปร่างหน้าตัดแบบเลข 8 จึงเรียกว่า Figure - 8
    • ADSS (All Dielectric Self Support) เป็นสายไฟเบอร์ ที่สามารถโยงระหว่างเสาได้ โดยไม่ต้องมีลวดสลิงเพื่อประคองสาย เนื่องจากโครงสร้างของสายประเภทนี้ ได้ถูกออกแบบให้ เป็น Double Jacket จึงทำให้มีความแข็งแรงสูง
  • สายแบบ Indoor/Outdoor เป็นสายเคเบิลใยแก้วที่สามารถเดินได้ทั้งภายนอกและภายในอาคาร เป็นสายที่มีคุณสมบัติพิเศษที่เรียกว่า Low Smoke Zero Halogen (LSZH) ซึ่งเมื่อเกิดอัคคีภัย จะเกิดควันน้อยและควันไม่เป็นพิษ เมื่อเทียบกับ Jacket ของสายชนิดอื่น ที่จะลามไฟง่ายและเกิดควันพิษ เนื่องจากการเดินสายในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเดินภายนอกอาคาร ด้วยสาย Outdoor แล้วเข้า อาคาร ซึ่งผิดมาตรฐานสากล ดังนั้นจึงควรใช้สายประเภทนี้เมื่อมีการเดินจากภายนอกเข้าสู่ภายใน

Fiber Optic

รหัสสี Jacket ของเส้นใยแก้วนำแสง

อาจใช้เสื้อนอกหรือพิมพ์สีกับสายไฟเบอร์ภายนอกโรงงานและในอาคาร เช่น สายเคเบิลจำหน่ายไฟเบอร์ สายแพทช์ไฟเบอร์ออปติก ฯลฯ ใน EIA/TIA-598 รหัสสีของไฟเบอร์จะกำหนดรหัสสีของแจ็คเก็ตสำหรับไฟเบอร์ประเภทต่างๆ ดังนั้นสำหรับสายไฟเบอร์ออปติกที่มีไฟเบอร์เพียงชนิดเดียว เราสามารถระบุได้อย่างง่ายดายด้วยสีเสื้อ เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น เสื้อนอกของสายเคเบิลในสถานที่ที่มีไฟเบอร์มากกว่าหนึ่งชนิด ต้องใช้คำอธิบายที่พิมพ์เพื่อระบุปริมาณและประเภทของเส้นใยภายในสายเคเบิล ตัวอย่างเช่น "12 ไฟเบอร์ 8 x 50/125, 4 x 62.5/125 " รหัสสีแจ็คเก็ตสำหรับไฟเบอร์ประเภทต่างๆตามคำจำกัดความ มาตรฐาน TIA-598C มีดังนี้

การเรียงสี Fiber Optic

ข้อดีและข้อเสียของสาย Fiber Optic

ข้อดี

  • มีการลดทอนสัญญาณต่ำ (Low Attenuation)
  • สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก (High Bandwidth)
  • โครงสร้างของสายมีขนานเล็ก และน้ำหนักเบา
  • มีคุณสมบัติเป็นฉนวน ไม่นำไฟฟ้า
  • ปราศจากการรบกวนทางไฟฟ้า
  • มีความปลอดภัยสูง
  • เส้นใยแก้วนำเสียงมีอายุการใช้งานที่นาน

ข้อเสีย

  • เส้นใยแก้วนำแสงเปราะบาง และแตกหักง่าย
  • ไม่สามารถโค้งงอได้เหมือนสายทองแดง
  • ในการติดตั้งสายไฟเบอร์ออปติก ต้องใช้เครื่องมือพิเศษซึ่งราคาแพง (ในส่วนของราคาปัจจุบันสามารถจับต้องได้แต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับงานของคุณ)
Share this post
Latest

Explore Our Blog Posts

Stay updated with our latest blog posts.

September 14, 2024

7 Types of Network Topology

Network Topology หรือ โครงข่ายอิเทอร์เน็ต หมายถึง โครงร่างทางกายภาพหรือเชิงตรรกะของเครือข่าย กำหนดวิธีการวางโหนดต่างๆ และเชื่อมต่อถึงกัน
November 14, 2024

Wi-Fi 7 in the Real World with HPE Aruba Networking

Wi-Fi 7 เป็นความก้าวหน้าล่าสุดของเทคโนโลยี Wi-Fi ที่มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญหลายอย่าง โดยเน้นนวัตกรรมและศักยภาพในการยกระดับประสบการณ์เครือข่ายในสภาพแวดล้อมต่างๆ
November 14, 2024

Wi-Fi 6 vs Wi-Fi 7: ก้าวสู่อนาคตของการเชื่อมต่อที่เร็วและเสถียรกว่าเดิม

Wi-Fi 7 คือก้าวใหม่ของเทคโนโลยีไร้สาย ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 46 Gbps เพิ่มประสิทธิภาพและเสถียรภาพ เหมาะสำหรับภาคสุขภาพ การผลิต และพื้นที่ขนาดใหญ่ รองรับอุปกรณ์จำนวนมาก Wi-Fi 7 คือคำตอบแห่งอนาคต!

Join our newsletter for updates

Stay informed with our latest news and promotions

By subscribing, you agree to our Terms and Conditions.
Thank you! We've received your submission.
Oops! Something went wrong. Please try again.