7 Types of Network Topology
Network Topology หรือ โครงข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง โครงร่างทางกายภาพหรือเชิงตรรกะของเครือข่าย กำหนดวิธีการวางโหนดต่างๆ และเชื่อมต่อถึงกัน
Network Topology มีกี่ประเภท
Network Topology สามารถแบ่งออกตามลักษณะของการเชื่อมต่อได้ ดังนี้
1.) Point To Point (โทโปโลยีแบบจุดต่อจุด)
เครือข่ายแบบจุดต่อจุดเป็นรูปแบบ Topology พื้นฐานที่สุดที่เราเชื่อมต่ออุปกรณ์หนึ่งกับอีกเครื่องหนึ่งโดยตรง โดยไม่มี "คนกลาง" ระหว่างกัน ครบจบเรื่อง ตัวอย่างเช่นการเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนกับแล็ปท็อปโดยใช้สาย USB หรือจะเป็นการต่อสาย LAN ระหว่างคอมสองเครื่อง
ข้อดี
- สามารถใช้ความเร็วในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างเต็มที่ จึงเหมาะสมกับการที่ต้องส่งข้อมูลได้คราวละมากๆ แบบต่อเนื่องกันไป
- มีความปลอดภัยในข้อมูล เพราะมีการเชื่อมต่อกันระหว่างโหนดสองโหนดเท่านั้น
ข้อเสีย
- ไม่เหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่
- หากเครือข่ายมีจำนวนโหนดเพิ่มมากขึ้น ก็จะต้องใช้สายในการเชื่อมโยงหรือสายในการสื่อสารเพิ่มมากขึ้นด้วย
2.) Bus Topology(โทโปโลยีแบบบัส)จะมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์บนสายเคเบิล ซึ่งเรียกว่า บัส คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ๆ สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้เป็นอิสระในการส่งข้อมูลนั้นจะมีเพียงคอมพิวเตอร์ตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ จากนั้นข้อมูลจะวิ่งไปตลอดความยาวของสายเคเบิล แล้วคอมพิวเตอร์ปลายทางจะรับข้อมูลที่วิ่งผ่านมา (การเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดด้วยเคเบิลเพียงเส้นเดียว และปลายสายต้องมี Terminator)ซึ่งในปัจจุบันไม่นิยม ตัวอย่างเช่น ใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก เช่น ออฟฟิศต่างๆที่คนไม่เยอะ
ข้อดี
- คุ้มค่าเพราะใช้สายเคเบิลน้อยกว่าโทโพโลยีอื่นๆ มีสายไฟหลักเพียงเส้นเดียวและ "Drop line" สำหรับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อแต่ละเครื่อง
- ตรงไปตรงมา ง่ายต่อการใช้งานและซ่อมบำรุง
- ง่ายต่อการขยาย เพียงแค่แทรกโหนดอื่นเข้าไปในลำตัว
- เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็กที่ไม่มีอุปกรณ์มากเกินไป
ข้อเสีย
- เครือข่ายทั้งหมดจะปิดตัวลงหากมีการแตกหักในสายเคเบิลลำต้น
- สายเคเบิลลำต้น(trunk cable) หนึ่งเส้นใช้ร่วมกันระหว่างอุปกรณ์หลายเครื่อง ดังนั้นยิ่งเราต่ออุปกรณ์เข้ากับเครือข่ายบัสมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งช้าลงเท่านั้น
- มีขีดจำกัดว่าเราสามารถยืดสายเคเบิลหนึ่งชิ้นได้ไกลแค่ไหน(บางทีอาจข้ามเพียงห้องเดียวได้ดีที่สุด)
3.) Ring Topology(โทโปโลยีแบบวงแหวน)
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลเดียวในลักษณะวงแหวนไม่มีเครื่องคอมพวเตอร์เป็นศูนย์กลาง ข้อมูลจะต้องผ่านไปยังคอมพิวเตอร์รอบ ๆ วงแหวน และผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเพื่อไปยังสถานีที่ต้องการ ซึ่งข้อมูลที่ส่งไปจะไปในทิศทางเดียวกัน การวิ่งของข้อมูลในเครือข่ายวงแหวนจะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูลจะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์ต้นทางระบุก็จะส่งผ่านไปให้คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ซึ่งจะเป็นขั้นตอนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทาง ที่ถูกระบุตามที่อยู่จากเครื่องต้นทาง (เป็นการส่งข้อมูลแบบ Token Ring หรือการต่อคิว) ปัจจุบันไม่นิยมใช้วิธีนี้แล้ว ตัวอย่างเช่น การต่อคอมพิวเตอร์ (PC) ที่เป็น Work Station หรือ Server เข้ากับ MAU ซึ่ง 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี
ข้อดี
- สิทธิในการส่งข้อมูลของแต่ละโหนดภายในเครือข่ายมีความเท่าเทียมกัน
- ประหยัดสายเคเบิล
- การติดตั้งไม่มยุ่งยาก รวมถึงการเพิ่มหรือลดโหนดทำได้ง่าย
ข้อเสีย
- สายเคเบิลที่ใช้เป็นวงแหวน หากเกิดการชำรุดเสียหาย เครือข่ายจะหยุดการทำงานลง
- หากมีบางโหนดบนเครือข่ายเกิดขัดข้อง จะยากต่อการตรวจสอบและค้นหาโหนดที่เสีย
- ต้องรอรอบส่งข้อมูลของตัวเอง
4.) Star Topology(โทโปโลยีแบบดาว)
เป็นการเชื่อมต่อที่อุปกรณ์ทั้งหมดเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ส่วนกลาง อุปกรณ์นี้จะควบคุมการไหลของข้อมูลทั้งหมดภายในเครือข่ายทั้งหมด
ยังนิยมใช้ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น เครือข่ายไร้สายในบ้าน เช่น แล็ปท็อป แท็บเล็ต เครื่องพิมพ์ และสมาร์ทโฟนทั้งหมดเชื่อมต่อกับเราเตอร์ไร้สายเครื่องเดียว
ข้อดี
- มีความคงทนมากกว่าแบบบัส โดยหากสายเคเบิลทางโหนดเสียหายจะไม่กระทบต่อโหนดอื่น ๆ
- การวิเคราะห์จุดเสียหายบนเครือข่ายทำได้ง่ายกว่า เนื่องจากมีฮับเป็นศูนย์กลาง
- สามารถเพิ่มเติ่มอุปกรณ์ หรือถอดอุปกรณ์ออกได้ง่ายและไม่รบกวนส่วนอื่น
ข้อเสีย
- สิ้นเปลืองสายเคเบิล เนื่องจากทุก ๆ โหนดต้องมีสายเคเบิลเชื่อมโยงกับฮับ
- ถ้า Hub/Switch ที่เชื่อมอยู่ตรงกลางมีปัญหา จะทำให้ระบบเครือข่ายทั้งหมดมีปัญหาไปด้วย
- ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการต่อแบบ Bus เนื่องจากจำเป็นต้องมี Hub หรือ Switch เชื่อมตรงกลาง
5.) Tree Topology(โทโปโลยีแบบต้นไม้)
มีลักษณะเชื่อมโยงคล้ายกับโครงสร้างแบบดาวแต่จะมีโครงสร้างแบบต้นไม้ โดยมีสายนำสัญญาณแยกออกไปเป็นแบบกิ่งไม่เป็นวงรอบ โครงสร้างแบบนี้จะเหมาะกับการประมวลผลแบบกลุ่มจะประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับต่างๆกันอยู่หลายเครื่องแล้วต่อกันเป็นชั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ใช้ในระบบการประมวลผลแบบกลุ่ม เช่น เวลาเข้าออกของพนักงานอาจจะพิมพ์เก็บไว้ทุกสัปดาห์ และนำมาประมวลผลเดือนละครั้งเท่านั้น
ข้อดี
- ดีสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ที่แบ่งออกเป็นกลุ่ม องค์กรที่มีแผนกต่างๆ เช่น การฝึกอบรม การเงิน การตลาด
- จัดการได้ง่ายขึ้นเนื่องจากเครือข่ายแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ
- ค่อนข้างแข็งแกร่งเมื่อกำหนดค่าอย่างเหมาะสม หากเครือข่ายย่อยแตก จะไม่ส่งผลกระทบต่อส่วนที่เหลือของเครือข่าย
ข้อเสีย
- มีค่าใช้จ่ายในการสร้าง เนื่องจากมีอุปกรณ์เครือข่ายและสายเคเบิลจำนวนมาก
- ขึ้นอยู่กับวิธีการสร้างเครือข่ายแบบทรีอีกครั้ง หาก “โหนดระดับบนสุด” หรือฮับกลางหยุดทำงาน เครือข่ายทั้งหมดอาจถูกทำให้พิการได้
6) Mesh Topology(โทโพโลยีแบบตาข่าย)
Mesh Topology คือ โทโปโลยีที่มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน มีความคล้ายคลึงกับการเชื่อมต่อแบบ Star Topology แต่การต่อแบบ Mesh Topology นั้นสามารถส่งข้อมูลได้โดยไม่ต้องผ่านฮับ แต่จะมีเราเตอร์ (Router) ที่ทำหน้าที่ในการคำนวณหาเส้นทางเพื่อที่จะส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ หากสายเคเบิลหรือเราเตอร์ตรงจุดไหนเกิดความเสียหาย ระบบก็จะทำการคำนวณเส้นทางใหม่ใหอัตโนมัติ (ระบบนี้จะทำให้เกิด Redundancy หรือเกิดการซ้ำซ้อน ซึ่งทนทานต่อความล้มเหลวของข้อมูล) ตัวอย่างเช่น เครือข่ายแบบไร้สาย Mesh Wi-Fi , ระบบ WAN
ข้อดี
- ลดปัญหาการจราจรภายในเครือข่าย เนื่องจากไม่ต้องใช้สื่อร่วมกัน
- ถ้ามีสายเส้นหนึ่งเส้นใดเสียหาย จะไม่ส่งผลต่อระบบ เนื่องจากระบบยังคงส่งสัญาณได้
- มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากระบบจะส่งข้อมูลไปให้โดยตรง
- ตรวจสอบความถูกต้องได้ง่าย
ข้อเสีย
- ต้องใช้สายจำนวนมากในการต่อ ทำให้สิ้นเปลือง
- มีข้อจำกัดในการนำไปต่อกับ Topology อื่น ๆ
7.) Hybrid Topology(โทโปโลยีแบบผสม)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่างๆหลายๆแบบเข้าด้วยกันคือจะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ หลาย ๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน ตัวอย่างเช่น ใช้ในองค์กรที่มีหลายแผนก ขึ้นอยู่กับการจัดสรรขององค์กร
ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก
- สามารถขยายระบบได้ง่าย(เพิ่ม Node ได้ง่าย)
- ตรวจสอบจุดที่เป็นปัญหาได้ง่าย
ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยากเนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเนตเวิร์ก ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
ประเภทของเครือข่าย
เครือข่ายส่วนบุคคล (PAN : Personal Area Network) คือเครือข่ายขนาดเล็กที่มีชอบเขตระยะสั้นประมาณไม่เกิน 10 เมตร มีจุดเด่นที่สะดวก คล่องตัว สามารถใช้งานได้แทบทุกที่ แต่จะมีข้อจำกัดเรื่องระยะทาง ความเร็วในการเชื่อมต่อ และการรองรับอุปกรณ์ที่จำกัดตัวอย่าง: คุณใช้โทรศัพท์มือถือในการปล่อย Hotspot ให้ laptop หรือ iPad ใช้งานภายในห้องนอนของคุณ การเชื่อมต่อแบบนี้เรียกว่า PAN
เครือข่ายท้องถิ่น (LAN : Local Area Network) คือเครือข่ายขนาดกลางที่ครอบคลุมในระดับองค์กรหรือระยะทางประมาณไม่เกิน 10 กิโลเมตร จุดเด่นที่มีความเร็วสูงมาก รองรับการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ได้หลายชนิด เหมาะสำหรับการใช้งานภายในบริษัท องค์กร หรือสำนักงานขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ส่วนข้อจำกัดคือ Software ที่พัฒนาไว้ใช้สำหรับระบบ LAN ส่วนใหญ่เป็น Software เฉพาะทาง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับระบบเครือข่ายชนิดอื่นตัวอย่าง: เพื่อนในบริษัทสั่งปริ้นจากโต๊ะทำงานของเขา ไปยัง Printer บนโต๊ะทำงานของคุณในออฟฟิศเดียวกัน การเชื่อมต่อแบบนี้เรียกว่า LAN
เครือข่ายระดับเมือง (MAN : Metropolitan Area Network) คือเครือข่ายขนาดใหญ่มีระยะครอบคลุมในระดับเมืองหรือประมาณไม่เกิน 100 กิโลเมตร เป็นการเชื่อมต่อ LAN หลายๆ LAN เข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มระยะทาง โดยจะมีจุดเด่นที่ ระยะทางการเชื่อมต่อไกลกว่า LAN ทำให้สามารถแชร์ทรัพยากรณ์ได้กว้างขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ซ้ำซ้อนลงได้ เหมาะสำหรับการใช้งานภายในบริษัท องค์กร หรือสำนักงานขนาดใหญ่ ที่มีสาขาหรือตึกกระจายอยู่ภายในระยะที่กำหนด แต่เนื่องจากมีระยะที่ไกลขึ้น ทำให้ต้องเพิ่มอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อเข้าไป ทำให้มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้สูงขึ้นตัวอย่าง: บริษัทของคุณกำลังจะเปิดสาขาใหม่ในจังหวัดใกล้เคียง และต้องการใช้ทรัพยากรณ์หรือบริการจากบริษัทแม่ การเชื่อมต่อแบบนี้เรียกว่า MAN
เครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN : Wide Area Network) คือเครือข่ายขนาดใหญ่มากที่มีระยะครอบคลุมทั่วโลก โดยภายในจะประกอบไปด้วย LAN และ MAN จำนวนมหาศาล มีจุดเด่นที่สามารถเข้าถึงข่าวสารได้สะดวก รวดเร็ว และข้อจำกัดคือ ต้องใช้อุปกรณ์หลายชิ้น ทำให้มีราคาสูงกว่าเครือข่ายแบบอื่น
ตัวอย่าง: คุณใช้ Video Call โทรหาเพื่อนที่อยู่ต่างประเทศ เรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า WAN
เครือข่ายพื้นที่ทั่วโลก (GAN : Global Area Network) เป็นเครือข่ายที่ใช้สำหรับรองรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ผ่าน LAN ไร้สาย พื้นที่ครอบคลุมดาวเทียม ตัวอย่างในปัจจุบันก็คือ Starlink หรือ กลุ่มดาวอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม
ตัวอย่างในภาพรวม
เมื่อบ้านของคุณไม่มีอินเตอร์เน็ตเลยต้องแชร์อินเตอร์เน็ตในการทำงานใน Laptop เรียกว่า PAN แล้วพอที่บ้านของคุณเริ่ม การติดมี Router และ Access Point เพื่อปล่อย Wi-Fi ให้คนทั้งบ้านเล่น เรียกว่าระบบ LAN ซึ่งบ้านของคุณได้รับ Internet จาก ISP (Internet Service Provider)ก็คือพวกค่ายเน็ตต่างๆ เช่น AIS, TOT, CAT, TRUE เป็นต้น ที่สาขาตัวเมืองของคุณ เรียกว่าระบบ MAN และต้องทำงานในระยะไกลผ่านอินเตอร์เน็ตหรือการ Remote เช่นแก้โค้ดให้ลูกค้าที่ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ เรียกว่า ระบบ WAN
Explore Our Blog Posts
Stay updated with our latest blog posts.
Wi-Fi 7 in the Real World with HPE Aruba Networking
Cencora จ่าย Bitcoin มูลค่า 75 ล้านดอลลาร์ให้แฮกเกอร์ หลังโดนโจมตีด้วย Ransomware
DOS and DDOS Attack
Join our newsletter for updates
Stay informed with our latest news and promotions